ช้อมูลทั่วไป

ชื่อภาษาไทย กรดไนตริก (กรดดินประสิว)
ชื่อภาษาอังกฤษ Nitric acid
ชื่อทางการค้า
ประเภทสารเคมี 8.สารกัดกร่อน
Cas no. 7697-37-2
UN Number 2031
Formula HNO3
จุดเดือด 121 องศาเซลเซียส
จุดหลอมละลาย -41 องศาเซลเซียส
AEGL1 0.16
AEGL2 24
AEGL3 92
NFPA
0 4 0 OXY

ความอันตราย

กลุ่มสารเคมี สาร-เป็นพิษ และ/หรือ กัดกร่อน(ไม่ติดไฟ/ทำปฏิกิริยากับน้ำ)
Polimerization ไม่เป็น Polimerization
สารเคมีมีอันตรายสูงหากสูดดม (Toxic Inhalation Hazard:TIH) ไม่เป็น
ก๊าซพิษเมื่่อสารสัมผัสกับน้ำ
อัคคีภัยหรือการระเบิด 1.ไม่ติดไฟ : ตัวสารจะไม่ลุกไหม้ แต่อาจสลายตัวเมื่อได้รับคตวามร้อนเกิดไอสารที่มีฤทธิ์กัดกร่อนและเป็นพิษ
2.สำหรับสาร UN1796 UN1826 UN2031 ที่มีความเข้นข้นสูง และสาร UN2032 อาจทำปฏิกิริยาเป็นสารออกซิไดซ์ ให้ดู Guide140 ประกอบ
3.ภาชนะบรรจุอาจระเบิดเมื่อได้รับความร้อน
4.ก๊าซไวไฟ/เป็นพิษ อาจสะสมอยู่ในที่อับอากาศ (ชั้นใต้ดิน ถังเก็บ รถขนถ่าย/รถขนส่ง ฯ)
5.สารจะทำปฏิกิริยากับน้ำ (บางชนิดเกิดปฏิกิริยาอย่างรุนแรง) เกิดก๊าซและน้ำเสียที่มีฤทธิ์กัดกร่อนและ/หรือเป็นพิษ
6.หากสารสัมผัสกับโลหะอาจเกิดก๊าซไฮโดรเจนซึ่งไวไฟ
ผลต่อสุขภาพ 1.เป็นพิษ : การสูดดม กิน หรือสัมผัส (ผิวหนัง ดวงตา) กับไอระเหย ฝุ่น หรือตัวสาร อาจเกิดการบาดเจ็บรุนแรง และแผนไหม้ หรือเสียชีวิต
2.การทำปฏิกิริยากับน้ำหรืออากาศที่มีความชื้นสูงจะเกิดก๊าซที่เป็นพิษกัดกรอ่น หรือไวไฟ
3.การทำปฏิกิริยากับน้ำอาจเกิดความร้อนสูง ทำให้ความเข้มข้นของไอสารในอากาศสูงขึ้น
4.หากสารเกิดลุกไหม้ อาจเกิดก๊าซที่มีฤทธิ์ระคายเคือง กัดกร่อน และ/หรือเป็นพิษ
5.น้ำเสียจากการดับเพลิงหรือน้ำที่ใช้เจือจางสาร อาจก่อมลพิษ

การเข้าระงับเหตุเบื้องต้น

คำแนะนำเบื้องต้น 1.โทรแจ้งหมายเลขฉุกเฉินที่ระบุในเอกสารกำกับขนส่ง หากไม่พบเอกสาร ฯ หรือ ไม่มีผู้รับสายให้โทรแจ้งหมายเลขที่เหมาะสมที่ระบุอยู่ด้านในปกหลังคู่มือ
2.กั้นแยกพื้นที่ที่สารรั่วไหลทันที่อย่างน้อย 50 เมตร (150 ฟุต) ถ้าเป็นของเหลว และอย่างน้อย 25 เมตร(75 ฟุต) ถ้าเป็นของแข๊ง ทุกทิศทาง
3.กันบุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องออกห่างจากพื้นที่
4.อยู่เหนือลม
5.ห้ามอยู่ในที่ต่ำ
กั้นแยกพื้นที่รอบทิศทาง 50
กั้นแยกพื้นที่รอบทิศทาง กรณีสารมีสถานะเป็นของเหลว 50
กั้นแยกพื้นที่รอบทิศทาง กรณีสารมีสถานะเป็นของแข็ง 25

ชุดป้องกัน

คำแนะนำ 1.สวมใส่ชุดเครื่องช่วยหายใจส่วนบุคคลแบบมีถังอากาศ
2.สวมชุดป้องกันอันตรายจากสารเคมีตามข้อแนะนำของบริษัทผู้ผลิต ทั้งนี้ชุดป้องกันอันตรายจากสารเคมีไม่สามารถป้องกันอันตรายจากความร้อนสูง
3.ชุดดับเพลิงสามารถป้องกันอันตรายได้อย่างจำกัดเมื่อเกิดกรณีเพลิงไหม้สารแต่อาจไม่สามารถป้องกันอันตรายอย่างมีประสิทธิภาพกรณีที่เกิดเฉพาะการหกรั่วไหล
ข้อควรระวัง
Type

การอพยพ

การรั่วไหลขนาดเล็ก

กั้นเขตอัตรายรอบทิศทาง (เมตร) 0
เขตป้องกันใต้ลม กลางวัน (เมตร) 0
เขตป้องกันใต้ลม กลางคืน (เมตร) 0

การรั่วไหลขนาดใหญ่

กั้นเขตอัตรายรอบทิศทาง (เมตร) 0
เขตป้องกันใต้ลม กลางวัน (เมตร) 0
เขตป้องกันใต้ลม กลางคืน (เมตร) 0

กรณีเกิดการเพลิงไหม้

คำอธิบายการอพยพ ในกรณีที่เกิดการลุกไหม้ 1.หากถังบรรจุขนาดใหญ่ ตู้รถไฟหรือรถบรรทุกสาร เกี่ยวข้องกับเพลิงไหม้ ให้กั้นแยกพื้นที่เกิดเหตุ 800 เมตร ( 1/2 ไมล์) และพิจารณาอพยพประชาชนเบื้องต้น 800 เมตร ( 1/2 ไมล์) ทุกทิศทาง
กั้นเขตอัตรายรอบทิศทาง (เมตร) 800
ระยะอพยพประชาชน ในกรณีที่เกิดเพลิงไหม้ หน่วยเป็นเมตร 800
คำแนะนำ 1.ส่วนใหญ่โฟมดับเพลิงจะทำปฏิกิริยากับสารและปล่อยก๊าซที่ีมีฤทธิ์กัดกร่อน/เป็นพิษ

การดำเนินการเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน

กรณีเกิดการเพลิงไหม้

ข้อควรระวัง หรือคำเตือน เ 1.ส่วนใหญ่โฟมดับเพลิงจะทำปฏิกิริยากับสารและปล่อยก๊าซที่ีมีฤทธิ์กัดกร่อน/เป็นพิษ
เพลิงไฟขนาดเล็ก 1.CO2 (ยกเว้นสาร Cyanides) ผงเคมีแห้ง ทรายแห้ง โฟมดับเพลิงชนิดมีขั้ว
เพลิงไฟขนาดใหญ่ 1.ฉีดน้ำเป็นฝอย หมอก หรือโฟมดับเพลิงชนิดมีขั้ว
2. เคลื่อนย้ายภาชนะบรรจุออกจากบริเวณเพลิงไหม้ หากทำได้โดยไม่เสี่ยงอันตราย
3.ใช้น้ำฉีดเป็นฝอย หรือหมอก : ห้ามใช้น้ำฉีดเป็นลำตรง
4.สร้างคันกั้นหรือร่องกักน้ำเสียจากการดับเพลิงเพื่อนำไปกำจัดภายหลัง ห้ามทำให้สารกระจาย
เพลิงไหม้ หรือ เกิดอยู่ใกล้ ภาชนะบรรจุหรือรถขนส่ง 1.ห้ามฉีดน้ำเข้าไปในภาชนะบรรจุ
2. ฉีดน้ำปริมาณมากหล่อเย็นภาชนะบรรจุ จนกว่าเพลิงจะสงบ
3. ฉีดน้ำดับเพลิงจากระยะไกลที่สุด หรือใช้หัวฉีดน้ำชนิดที่ไม่ต้องใช้คนควบคุมรหือใช้แท่นฉีดน้ำแทน
4. ถอนกำลังเจ้าหน้าที่ทันทีหากอุปกรณ์ระบายความดันนิรภัยของภาชนะบรรจุเกิดเสียงดังหรือภาชนะบรรจุเปลี่ยนสี
5. อยู่ห่างจากภาชนะบรรจุที่ไฟลุกท่วมตลอดเวลา
เพลิงไหม้ หรือ เกิดอยู่ใกล้ ตู้สินค้า

กรณีเกิดการหกรั่วไหล

วิธีการเข้าระงับเหตุ 1.กำจัดแหล่งที่อาจทำให้เกิดการจุดไฟทั้งหมด (ห้ามสูบบุหรี่ จุดพลุ ทำให้เกิดประกายไฟหรือเปลวไฟบริเวณจุดเกิดเหตุ)
2. อุปกรณ์ที่ใชในการถ่ายเทหรือขนย้ายสารต้องต่อสายดิน
3.ห้ามสัมผัสภาชนะบรรจุที่เสียหายหรือสารที่หกรั่วไหล หากไม่สามใส่ชุดป้องกันส่วนบุคคลที่เหมาะสม
4 ระงับการรั่วไหลของสาร หากทำได้โดยไม่เสี่ยงอันตราย
5.อาจใช้โฟมฉีดดักจับเพื่อลดไอระเหยสาร
6.ห้ามฉีดน้ำเข้าไปภายในภาชนะบรรจุ
7 ป้องกันมิให้สารไหลลงน้ำ ท่อระบายน้ำ ชั้นใต้ดิน หรือบริเวณอับอากาศ
8.ฉีดน้ำเป็นฝอยดักจับเพื่อลดหรือเปลี่ยนทิศทางไอระเหยสาร หลีกเลี่ยงไม่ให้น้ำที่ฉีดไหลไปสัมผัสกับสารที่รั่วไหล
คำเตือนสำหรับการเข้าระงับเหตุเมื่อเกิดการหกรั่วไหล
หกรั่วไหลปริมาณเล็กน้อย 1.ปิดทับด้วยดินแห้ง ทรายแห้ง หรือวัสดุอื่นที่ไม่ติดไฟ แล้วปิดคลุมด้วยแผ่นพลาสติกอีกชั้นหนึ่ง เพื่อลดการแพร่กระจายหรือการสัมผัสกับน้ำฝน
2.ใช้อุปกรณ์ที่สะอาดและไม่ก่อให้เกิดประกายไฟตักสารที่ถูกดูดซับใส่ภาชนะพลาสติก ปิดฝาหลวม ๆ เพื่อส่งกำจัด
หกรั่วไหลปริมาณมาก

การปฐมพยาบาล

คำแนะนำ 1.นำผู้บาดเจ็บไปยังพื้นที่อากาศบริสุทธิ์
2. โทรแจ้ง 191 หรือหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ฉุกเฉิน 1669
3. ใช้เครื่องช่วยหายใจหากผู้บาดเจ็บหยุดหายใจ
4. ให้ออกซิเจนถ้าผู้บาดเจ็บหายใจลำบาก
5. ห้ามผายปอดด้วยวิธีการเผ่าปาก หากผู้บาดเจ็บกลืนหรือหายใจรับสารเคมีเข้าสู่ร่างกาย ให้ใช้เครื่องช่วยหายใจชนิดมีที่ครอบให้อากาศแบบวาล์วทางเดียว หรืออุปกรณ์ช่วยหายใจอื่นที่เหมาะสม
6. ถอดและแยกเก็บเสื้อผ้าและรองเท้าที่ปนเปื้อน
7. ถ้าสัมผัสกับสาร ให้ล้างผิวหนังและดวงตาโดยวิธีให้น้ำหลผ่านทันที อย่างน้อย 20 นาที
8. รักษาอุณหภูมิร่างกายผู้บาดเจ็บให้อบอุ่นและให้อยู่ในที่สงบ
9.กรณีสัมผัสกรดไฮโดรฟลูออริก (UN1790) ล้วงด้วยน้ำไหลผ่านทันที 5 นาทีจากนั้นใช้เจลเคลเซียมทาบริเวณผิวหนังที่สัมผัสสาร สำหรับดวงตาให้ใช้สารละลายแคลเซียมในน้ำล้าง แต่หากจัดหาไม่ได้ให้ใช้น้ำสะอาดปริมาณมากล้างต่อเนื่องอีก 15 นาที
10.หากผิวหนังสัมผัสกับสารเล็กน้อย ต้องหลีกเลี่ยงมิให้สารแพร่กระจายสัมผัสผิวหนังบริเวณอื่น ๆ
11. อาการบาดเจ็บจากการสัมผัสกับสาร(หายใจ กิน สัมผัส) อาจเกิดขึ้นช้า (ภายใน 48 ชั่วโมง)
12. ต้องมั่นใจว่าหน่วยแพทย์ทราบชนิดและอันตรายของสารต่าง ๆ รวมทั้งมีการป้องกันตนเองอย่างเหมาะสม

มาตรการกำจัดของเสีย

ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ ดูดระบายอากาศเก็บรวบรวมของเหลวที่รั่วออกมาใน ภาชนะที่ปิดสนิท ทําให้สารที่เหลือมีสภาพเป็นกลางด้วย โซเดียมคาร์บอเนตอย่างระมัดระวังแล้วล้างด้วยน้ําจํานวนมาก ห้ามดูดซับสารด้วยขี้เลื่อยหรือสารดูดซับที่ติดไฟได้

การทำปฏิกิริยา การระเบิด

ทําให้เกิดไนโตรเจนออกไซด์เป็นสารออกซิไดซ์อย่างแรงและทําปฏิกริยาอย่างรุนแรงกับสารรีดิวซ์ และสารที่ติดไฟได้เช่น น้ํามันสน ถ่าน แอลกอฮอล์สารนี้เป็นกรดแก่ทําปฏิกริยาอย่างรุนแรงกับด่างและกัดกร่อนโลหะทําให้เกิดก๊าซที่ ติดไฟ/ระเบิดได้ (ไฮโดรเจน ดู ICSC 0001)ทําปฏิกริยาอย่างรุนแรงกับสารเคมีอินทรีย์

ข้อมูลสารเคมีที่ทําปฏิกิริยากัน

ข้อมูลการเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศน์

ป้องกันไม่ให้ไหลลงสู่ระบบสุขาภิบาล, ดิน หรือสิ่งแวดล้อม

มาตรการป้องกัน

เก็บแยกจากสารที่ติดไฟได้และสารรีดิวซ์ ด่าง สารเคมีอินทรีย์

ข้อมูลเพิ่มเติม

Version: 1.0.190 BETA