ช้อมูลทั่วไป
ชื่อภาษาไทย | กรดเปอร์อะซิติก |
ชื่อภาษาอังกฤษ | Peracetic acid |
ชื่อทางการค้า | |
ประเภทสารเคมี | 5.2 สารอินทรีย์เปอร์ออกไซด์ |
Cas no. | 79-21-0 |
UN Number | 3105 |
Formula | C2H4O3 / CH3COOOH |
จุดเดือด | 105°C องศาเซลเซียส |
จุดหลอมละลาย | 0°C องศาเซลเซียส |
AEGL1 | 0.17 |
AEGL2 | 0.5 |
AEGL3 | 4.82 |
NFPA |
2
3
4
OXY
|
ความอันตราย
กลุ่มสารเคมี | สารอินทรีย์เปอร์ออกไซด์ (ไวต่อความร้อนและการปนเปื้อน) |
Polimerization | ไม่เป็น Polimerization |
สารเคมีมีอันตรายสูงหากสูดดม (Toxic Inhalation Hazard:TIH) | ไม่เป็น |
ก๊าซพิษเมื่่อสารสัมผัสกับน้ำ | |
อัคคีภัยหรือการระเบิด | 1.อาจระเบิดเนื่องจากความร้อนหรือการปนเปื้อน
2.อาจทำให้สารที่ลุกติดไฟ เช่น ไม้ กระดาษ น้ำมัน ผ้า ลุกติดไฟ 3.อาจจุดติดไฟด้วยความร้อน ประกายไฟ หรือเปลวไฟ 4.อาจลุกไหม้อย่างรวดเร็วและเกิดเป็นเปลวไฟขนาดใหญ่ 5.น้ำเสียจากพื้นที่เกิดเหตุอาจทำให้เกิดเพลิงไหม้หรือการระเบิด |
ผลต่อสุขภาพ | 1.หากสารเกิดลุกไหม้ อาจเกิดก๊าซที่มีฤทธิ์ระคายเคือง กัดกร่อน และ/หรือเป็นพิษ
2.การกินหรือสัมผัส (ผิวหนัง ดวงตา) กัวตัวสาร อาจเกิดอาการบาดเจ็บรุนแรงหรือแผลไหม้ 3.น้ำเสียจากการดับเพลิงหรือที่ใช้เจือจางสาร อาจก่อมลพิษ |
การเข้าระงับเหตุเบื้องต้น
คำแนะนำเบื้องต้น | 1.โทรแจ้งหมายเลขฉุกเฉินที่ระบุในเอกสารกำกับขนส่ง หากไม่พบเอกสาร ฯ หรือ ไม่มีผู้รับสายให้โทรแจ้งหมายเลขที่เหมาะสมที่ระบุอยู่ด้านในปกหลังคู่มือ
2.กั้นแยกพื้นที่ที่สารรั่วไหลทันทีทุกทิศทางอย่างน้อย 50 เมตร (150 ฟุต) ถ้าเป็นของเหลว และอย่างน้อย 25 เมตร (75 ฟุต) ถ้าเป็นของแข็ง 3.กันบุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องออกห่างจากพื้นที่ 4.อยู่เหนือลม 5.ห้ามอยู่ในที่ต่ำ |
กั้นแยกพื้นที่รอบทิศทาง | 50 |
กั้นแยกพื้นที่รอบทิศทาง กรณีสารมีสถานะเป็นของเหลว | 0 |
กั้นแยกพื้นที่รอบทิศทาง กรณีสารมีสถานะเป็นของแข็ง | 0 |
ชุดป้องกัน
คำแนะนำ | 1.สวมใส่ชุดเครื่องช่วยหายใจส่วนบุคคลแบบมีถังอากาศ
2.ชุดดับเพลิงสามารถป้องกันอันตรายได้อย่างจำกัดเมื่อเกิดกรณีเพลิงไหม้สารแต่อาจไม่สามารถป้องกันอันตรายอย่างมีประสิทธิภาพกรณีที่เกิดเฉพาะการหกรั่วไหล 3.สวมชุดป้องกันอันตรายจากสารเคมีตามข้อแนะนำของบริษัทผู้ผลิต ทั้งนี้ชุดป้องกันอันตรายจากสารเคมีไม่สามารถป้องกันอันตรายจากความร้อนสูง |
ข้อควรระวัง | |
Type |
การอพยพ
การรั่วไหลขนาดเล็ก
กั้นเขตอัตรายรอบทิศทาง (เมตร) | 0 |
เขตป้องกันใต้ลม กลางวัน (เมตร) | 0 |
เขตป้องกันใต้ลม กลางคืน (เมตร) | 0 |
การรั่วไหลขนาดใหญ่
กั้นเขตอัตรายรอบทิศทาง (เมตร) | 0 |
เขตป้องกันใต้ลม กลางวัน (เมตร) | 0 |
เขตป้องกันใต้ลม กลางคืน (เมตร) | 0 |
กรณีเกิดการเพลิงไหม้
คำอธิบายการอพยพ ในกรณีที่เกิดการลุกไหม้ | 1.หากถังบรรจุขนาดใหญ่ ตู้รถไฟหรือรถบรรทุกสาร เกี่ยวข้องกับเพลิงไหม้ ให้กั้นแยกพื้นที่เกิดเหตุ 800 เมตร ( 1/2 ไมล์) และพิจารณาอพยพประชาชนเบื้องต้น 800 เมตร ( 1/2 ไมล์) ทุกทิศทาง |
กั้นเขตอัตรายรอบทิศทาง (เมตร) | 800 |
ระยะอพยพประชาชน ในกรณีที่เกิดเพลิงไหม้ หน่วยเป็นเมตร | 800 |
คำแนะนำ |
การดำเนินการเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน
กรณีเกิดการเพลิงไหม้
ข้อควรระวัง หรือคำเตือน เ | |
เพลิงไฟขนาดเล็ก | 1.ควรใช้น้ำฉีดเป็นฝอยหรือหมอก หากไม่สามารถจัดหาน้ำได้ ให้ใช้ผงเคมีแห้ง CO2 หรือโฟมดับเพลิง |
เพลิงไฟขนาดใหญ่ | 1.ฉีดน้ำดับเพลิงปริมาณมากจากระยะไกล
2.ฉีดน้ำเป็นฝอย หมอก 3.ห้ามฉีดน้ำเป็นลำตรง 4.ห้ามเคลื่อนย้ายตู้สินค้าหรือรถขนส่งหากตู้สินค้าได้รับความร้อนเป็นเวลานาน 5. เคลื่อนย้ายภาชนะบรรจุออกจากบริเวณเพลิงไหม้ หากทำได้โดยไม่เสี่ยงอันตราย |
เพลิงไหม้ หรือ เกิดอยู่ใกล้ ภาชนะบรรจุหรือรถขนส่ง | 1. ฉีดน้ำดับเพลิงจากระยะไกลที่สุด หรือใช้หัวฉีดน้ำชนิดที่ไม่ต้องใช้คนควบคุมหรือใช้แท่นฉีดน้ำแทน
2. ฉีดน้ำปริมาณมากหล่อเย็นภาชนะบรรจุ จนกว่าเพลิงจะสงบ 3. อยู่ห่างจากภาชนะบรรจุที่ไฟลุกท่วมตลอดเวลา 4. สำหรับเพลิงไหม้รุนแรงและใหญ่มาก ให้ใช้หัวฉีดชนิดที่ไม่ต้องใช้มือจับหรือใช้แท่นฉิดน้ำแทนหากไม่มีให้ถอนกำลังออกจากพื้นที่และปล่อยให้ไฟลุกไหม้จนดับไปเอง |
เพลิงไหม้ หรือ เกิดอยู่ใกล้ ตู้สินค้า |
กรณีเกิดการหกรั่วไหล
วิธีการเข้าระงับเหตุ | 1. กำจัดแหล่งที่อาจทำให้เกิดการจุดไฟทั้งหมด (ห้ามสูบบุหรี่ จุดพลุ ทำให้เกิดประกายไฟ หรือเปลวไฟบริเวณจุดเกิดเหตุ)
2.แยกวัสดุ/สารที่ลุกติดไฟได้ (ไม้ กระดาษ น้ำมัน ฯ) ออกจากบริเวณที่มีการรั่วไหล 3.ห้ามสัมผัสภาชนะบรรจุที่เสียหายหรือสารที่หกรั่วไหล หากไม่สามใส่ชุดป้องกันส่วนบุคคลที่เหมาะสม 4.ฉีดน้ำเป็นฝอยรักษาสภาพสารให้เปียก 5. ระงับการรั่วไหลของสาร หากทำได้โดยไม่เสี่ยงอันตราย |
คำเตือนสำหรับการเข้าระงับเหตุเมื่อเกิดการหกรั่วไหล | |
หกรั่วไหลปริมาณเล็กน้อย | 1.ดูดซัพด้วยสารที่เฉี่อยต่อการเกิดปฏิกิริยา เปียก และไม่ติดไฟ แล้วใช้อุปกรณ์ที่สะอาดและไม่ก่อให้เกิดประกายไฟ ตักสารใส่ภาชนะบรรจุพลาสติกที่สะอาด ปิดฝาหลวม ฯ เพื่อส่งกำจัดต่อไป |
หกรั่วไหลปริมาณมาก | 1.ทำให้สารเปียกด้วยน้ำ และสร้างคันกั้นหรือร่องกักสาร เพื่อส่งกำจัดต่อไป
2.ป้องกันมิให้สารไหลลงน้ำ ท่อระบายน้ำ ชั้นใต้ดิน หรือบริเวณอัพอากาศ 3.ห้ามทำความสะอาดพื้นที่หรือกำจัดสาร ยกเว้นดำเนินการภายใต้การดูแลของผู้เชี่ยวชาญ |
การปฐมพยาบาล
คำแนะนำ | 1.นำผู้บาดเจ็บไปยังพื้นที่อากาศบริสุทธิ์
2. โทรแจ้ง 191 หรือหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ฉุกเฉิน 1669 3. ใช้เครื่องช่วยหายใจหากผู้บาดเจ็บหยุดหายใจ 4. ให้ออกซิเจนถ้าผู้บาดเจ็บหายใจลำบาก 5. ถอดและแยกเก็บเสื้อผ้าและรองเท้าที่ปนเปื้อน 6.หากเสื้อผ้าที่ปนเปื้อนนั้นแห้งอาจลุกติดไฟ 7. รักษาอุณหภูมิร่างกายผู้บาดเจ็บให้อบอุ่นและให้อยู่ในที่สงบ 8. ถ้าสัมผัสกับสาร ให้ล้างผิวหนังและดวงตาโดยวิธีให้น้ำหลผ่านทันที อย่างน้อย 20 นาที 9. ต้องมั่นใจว่าหน่วยแพทย์ทราบชนิดและอันตรายของสารต่าง ๆ รวมทั้งมีการป้องกันตนเองอย่างเหมาะสม |
มาตรการกำจัดของเสีย
ปรึกาาผู้เชี่ยวชาญ เก็บกวาดสารที่หกออกมาใส่ในภาชนะพลาสติกที่มีฝาปิด ใช้ทรายหรือสารดูดซับเฉื่อยโรยที่ของเหลวที่เหลือและนำไปทิ้งในที่ปลอดภัย ห้ามดูดซับด้วยขี้เลื่อยหรือสารดูดซับที่ติดไฟได้ ห้ามล้างลงท่อระบายน้ำ ห้ามปล่อยลงท่อระบายน้ำ |
การทำปฏิกิริยา การระเบิด
อาจเกิดการระเบิดสลายตัวเมื่อได้รับการกระแทก เสียดสีหรือสั่นสะเทือน อาจเกิดระเบิดเมื่อได้รับความร้อน ทำปฏิกิริยารุนแรงกับวัสดุติดไฟได้และวัสดุรีดิวซ์ |
ข้อมูลสารเคมีที่ทําปฏิกิริยากัน
ข้อมูลการเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศน์
สารนี้เป็นพิษอย่างมาต่อสิ่งแวดล้อม |
มาตรการป้องกัน
เก็บในที่ป้องกันไฟได้ ต้องมีการเตรียมการเก็บกักสิ่งที่เกิดจากการดับเพลิง เก็บแยกจากสารที่ติดไฟได้และสารรีดิวซ์ วัสดุที่เข้ากันไม่ได้ เก็บในที่เย็น เก็บสารเฉพาะที่อยู่ในสภาวะคงตัว |