ช้อมูลทั่วไป
ชื่อภาษาไทย | อะเซตอลดีไฮด์ |
ชื่อภาษาอังกฤษ | Acetaldehyde |
ชื่อทางการค้า | |
ประเภทสารเคมี | 2.1 ก๊าซไวไฟ |
Cas no. | 75-07-0 |
UN Number | 1083 |
Formula | C2 H4 O / CH3 CHO |
จุดเดือด | 20.2 ํC องศาเซลเซียส |
จุดหลอมละลาย | -123 ํC องศาเซลเซียส |
AEGL1 | 45 |
AEGL2 | 270 |
AEGL3 | 840 |
NFPA |
4
2
2
|
ความอันตราย
กลุ่มสารเคมี | ก๊าซ - ไวไฟ - กัดกร่อน |
Polimerization | ไม่เป็น Polimerization |
สารเคมีมีอันตรายสูงหากสูดดม (Toxic Inhalation Hazard:TIH) | ไม่เป็น |
ก๊าซพิษเมื่่อสารสัมผัสกับน้ำ | |
อัคคีภัยหรือการระเบิด | 1.ไวไฟสูงมาก 2.อาจลุกติดไฟเมื่อได้รับความร้อน ประกายไฟ หรือเปลวไฟ 3.เมื่อผสมกับอากาศอาจเกิดส่วนผสมที่ระเบิดได้ 4.สารเหล่านี้บางชนิดอาจทำปฏิกิริยาอย่างรุนแรงกับน้ำ 5.ไอระเหยจากก๊าซเหลว ในขั้นต้นจะหนักกว่าอากาศ และแพร่กระจายไปตามพื้น 6.ไอระเหยของสารอาจลอยไปหาแหล่งความร้อนหรือประกายไฟ ติดไฟและเปลวไฟยอ้นกลับไปยังต้นกำเนิดอย่างรวดเร็ว 7.ถังบรรจุก๊าซทรงกระบอกที่ถูกเพลิงไหม้อาจปล่อยก๊าซไวไฟออกมาทางอุปกรณ์ควาบคุมความดันนิรภัย 8.ภาชนะบรรจุอาจระเบิดเมื่อได้รับความร้อน 9.ถังบรรจุก๊าซทรงกระบอกที่ฉีกขาดอาจพุ่งไปในทิศทางต่าง ๆ |
ผลต่อสุขภาพ | 1.อาจเป็นพิษ หากสูดดม 2.ไอระเหยทำให้เกิดการระคายเคืองรุนแรง 3.การสัมผัสก๊าซหรือก๊าซเหลวอาจเกิดแผลไหม้ บาดเจ็บหาหัส และ/หรือแผลจากความเย็นจัด 4.หากสารเกิดลุกไหม้ อาจเกิดก๊าซที่มีฤทธิ์ระคายเคือง กัดกร่อน และ/หรือเป็นพิษ 5.น้ำเสียจากการดับเพลิงอาจก่อมลพิษ |
การเข้าระงับเหตุเบื้องต้น
คำแนะนำเบื้องต้น | 1.โทรแจ้งหมายเลขฉุกเฉินที่ระบุในเอกสารกำกับขนส่ง หากไม่พบเอกสาร ฯ หรือ ไม่มีผู้รับสายให้โทรแจ้งหมายเลขที่เหมาะสมที่ระบุอยู่ด้านในปกหลังคู่มือ 2กั้นแยกพื้นที่ที่สารรั่วไหลทันที่อย่างน้อย 100 เมตร(330 ฟุต) ทุกทิศทาง 3กันบุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องออกห่างจากพื้นที่ 4อยู่เหนือลม 5ห้ามอยู่ในที่ต่ำ 6. ก๊าซหลายชนิดจะหนักกว่าอากาศและจะแพร่กระจายไปตามพื้น สะสมตัวในที่ต่ำหรือที่อับอากาศ (ท่อระบายน้ำ ห้องใต้ดิน ถึงเก็บ) 7. ระบายอากาศพื้นที่อับอากาศก่อนเข้าระงับเหตุ |
กั้นแยกพื้นที่รอบทิศทาง | 100 |
กั้นแยกพื้นที่รอบทิศทาง กรณีสารมีสถานะเป็นของเหลว | 0 |
กั้นแยกพื้นที่รอบทิศทาง กรณีสารมีสถานะเป็นของแข็ง | 0 |
ชุดป้องกัน
คำแนะนำ | 1.สวมใส่ชุดเครื่องช่วยหายใจส่วนบุคคลแบบมีถังอากาศ 2.สวมชุดป้องกันอันตรายจากสารเคมีตามข้อแนะนำของบริษัทผู้ผลิต ทั้งนี้ชุดป้องกันอันตรายจากสารเคมีไม่สามารถป้องกันอันตรายจากความร้อนสูง 3.ชุดดับเพลิงสามารถป้องกันอันตรายได้อย่างจำกัดเมื่อเกิดกรณีเพลิงไหม้สารแต่อาจไม่สามารถป้องกันอันตรายอย่างมีประสิทธิภาพกรณีที่เกิดเฉพาะการหกรั่วไหล |
ข้อควรระวัง | |
Type |
การอพยพ
การรั่วไหลขนาดเล็ก
กั้นเขตอัตรายรอบทิศทาง (เมตร) | 0 |
เขตป้องกันใต้ลม กลางวัน (เมตร) | 0 |
เขตป้องกันใต้ลม กลางคืน (เมตร) | 0 |
การรั่วไหลขนาดใหญ่
กั้นเขตอัตรายรอบทิศทาง (เมตร) | 0 |
เขตป้องกันใต้ลม กลางวัน (เมตร) | 0 |
เขตป้องกันใต้ลม กลางคืน (เมตร) | 0 |
กรณีเกิดการเพลิงไหม้
คำอธิบายการอพยพ ในกรณีที่เกิดการลุกไหม้ | 1.หากถังบรรจุขนาดใหญ่ ตู้รถไฟหรือรถบรรทุกสารเกี่ยวข้องกับเพลิงไหม้ ให้กั้นแยกพื้นที่เกิดเหตุ 1,600 เมตร ( 1 ไมล์) และพิจารณาอพยพประชาชนเบื้องต้น 1,600 เมตร ( 1 ไมล์) ทุกทิศทาง |
กั้นเขตอัตรายรอบทิศทาง (เมตร) | 1600 |
ระยะอพยพประชาชน ในกรณีที่เกิดเพลิงไหม้ หน่วยเป็นเมตร | 1600 |
คำแนะนำ |
การดำเนินการเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน
กรณีเกิดการเพลิงไหม้
ข้อควรระวัง หรือคำเตือน เ | |
เพลิงไฟขนาดเล็ก | |
เพลิงไฟขนาดใหญ่ | 1.ฉีดน้ำเป็นฝอย หมอก หรือโฟมดับเพลิง 2. เคลื่อนย้ายภาชนะบรรจุออกจากบริเวณเพลิงไหม้ หากทำได้โดยไม่เสี่ยงอันตราย 3. ท่อบรรจุก๊าซทรงกระบอกที่ชำรุดต้องได้รับการจัดการโดยผู้เชี่ยวชาญเฉพาะ |
เพลิงไหม้ หรือ เกิดอยู่ใกล้ ภาชนะบรรจุหรือรถขนส่ง | 1. ฉีดน้ำดับเพลิงจากระยะไกลที่สุด หรือใช้หัวฉีดน้ำชนิดที่ไม่ต้องใช้คนควบคุมรหือใช้แท่นฉิดน้ำแทน 2. ฉีดน้ำปริมาณมากหล่อเย็นภาชนะบรรจุ จนกว่าเพลิงจะสงบ 3. ห้ามฉีดน้ำไปยังรอยรั่วหรืออุปกรณ์ระบายความดันโดยตรง อาจมีน้ำแข็งเกาะบริเวณดังกล่าว 4. ถอนกำลังเจ้าหน้าที่ทันทีหากอุปกรณ์ระบายความดันนิรภัยของภาชนะบรรจุเกิดเสียงดังหรือภาชนะบรรจุเปลี่ยนสี 5. อยู่ห่างจากภาชนะบรรจุที่ไฟลุกท่วมตลอดเวลา |
เพลิงไหม้ หรือ เกิดอยู่ใกล้ ตู้สินค้า |
กรณีเกิดการหกรั่วไหล
วิธีการเข้าระงับเหตุ | 1. กำจัดแหล่งที่อาจทำให้เกิดการจุดไฟทั้งหมด (ห้ามสูบบุหรี่ จุดพลุ ทำให้เกิดประกายไฟ หรือเปลวไฟบริเวณจุดเกิดเหตุ) 2. อุปกรณ์ที่ใชในการถ่ายเทหรือขนย้ายสารต้องต่อสายดิน 3. สวมชุดป้องกันไอระเหยสารแบบคลุมทั้งตัว หากต้องปฏิบัติหน้าที่ในบริเวณที่มีการรั่วไหล แต่ไม่มีเพลิงไหม้ 4. ห้ามสัมผัสหรือเดินย่ำผ่านบริเวณที่สาารหกรัวไหล 5. ระงับการรัวไหล ทำได้โดยไม่เสี่ยงอันตราย 6. ฉีดน้ำเป็นฝอยดักจับกลุ่มไอระเหยสารเพื่อลดความเข้มข้นหรือเปลี่ยนทิศทางไอระเหย แต่พยายามอย่าให้น้ำที่ฉีดไหลไปสัมผัสกับตัวสารที่หกรั่วไหลโดยตรง 7. ห้ามฉีดน้ำใส่สารที่นองพื้นที่หรือจุดรั่วไหลโดยตรง 8. หากเป็นไปได้ให้หมุนภาชนะบรรจุจนอยู่ในต่ำแหน่งที่จะมีก๊าซรั่วออกมาเท่านั้น แทนที่จะเป็นของเหลว 9. กันบริเวณจนกว่าก๊าซพิษเจือจางไป |
คำเตือนสำหรับการเข้าระงับเหตุเมื่อเกิดการหกรั่วไหล | |
หกรั่วไหลปริมาณเล็กน้อย | |
หกรั่วไหลปริมาณมาก |
การปฐมพยาบาล
คำแนะนำ | 1.นำผู้บาดเจ็บไปยังพื้นที่อากาศบริสุทธิ์
2. โทรแจ้ง 191 หรือหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ฉุกเฉิน 1669 3. ใช้เครื่องช่วยหายใจหากผู้บาดเจ็บหยุดหายใจ 4. ให้ออกซิเจนถ้าผู้บาดเจ็บหายใจลำบาก 5. ห้ามผายปอดด้วยวิธีการเผ่าปาก หากผู้บาดเจ็บกลือนหรือหายใจรับสารเคมีเข้าสู่ร่างกายให้ใช้เครื่องช่วยหายใจชนิดมีที่ครอบให้อากาศแบบวาล์วทางเดียว หรืออุปกรณ์ช่วยหายใจอื่นที่เหมาะสม 6. ถอดและแยกเก็บเสื้อผ้าและรองเท้าที่ปนเปื้อน 7.กรณีที่สัมผัสกับก๊าซเหลว ใช้น้ำอุ่นล้างเพื่อทำให้กล้ามเนื้อบริเวณดังกล่าวคลายตัว 8. กรณีเกิดแผลไหม้ ทำให้ผิวหนังบริเวณดังกล่าวเย็นทันทีโดยแช่น้ำเย็นนานเท่าที่จะทำได้ ห้ามถอดเสื้อผ้าที่แข็งติดกับผิวหนัง 9. รักษาอุณหภูมิร่างกายผู้บาดเจ็บให้อบอุ่นและให้อยู่ในที่สงบ 10.เฝ้าระวังอาการผู้บาดเจ็บ 11. อาการบาดเจ็บจากการสัมผัสกับสาร(หายใจ กิน สัมผัส) อาจเกิดขึ้นช้า (ภายใน 48 ชั่วโมง) 12. ต้องมั่นใจว่าหน่วยแพทย์ทราบชนิดและอันตรายของสารต่าง ๆ รวมทั้งมีการป้องกันตนเองอย่างเหมาะสม |
มาตรการกำจัดของเสีย
ระบายอากาศในบริเวณนั้น และล้างตำแหน่งที่สารหกรั่วไหลหลังจากเก็บสารออกหมดแล้ว. คลุมด้วยตัวดูดซับถ่านกัมมันต์, และให้บรรจุลงภาชนะที่ปิดสนิท. เคลื่อนย้ายออกนอกอาคาร |
การทำปฏิกิริยา การระเบิด
ส่วนผสมของไอ/อากาศ สามารถระเบิดได้ |
ข้อมูลสารเคมีที่ทําปฏิกิริยากัน
ข้อมูลการเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศน์
สารนี้เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตในน้ํา |