ช้อมูลทั่วไป

ชื่อภาษาไทย เอทธิลีนอิมีน
ชื่อภาษาอังกฤษ Ethyleneimine
ชื่อทางการค้า
ประเภทสารเคมี 6.1 สารพิษ
Cas no. 151-56- 4
UN Number 1185
Formula C2 H5 N / CH2 NHCH2
จุดเดือด 56-57 ํC องศาเซลเซียส
จุดหลอมละลาย -74 ํC องศาเซลเซียส
AEGL1 0.1
AEGL2 4.6
AEGL3 9.9
NFPA
3 3 3

การเข้าระงับเหตุเบื้องต้น

คำแนะนำเบื้องต้น 1.โทรแจ้งหมายเลขฉุกเฉินที่ระบุในเอกสารกำกับขนส่ง หากไม่พบเอกสาร ฯ หรือ ไม่มีผู้รับสายให้โทรแจ้งหมายเลขที่เหมาะสมที่ระบุอยู่ด้านในปกหลังคู่มือ
2.กั้นแยกพื้นที่ที่สารรั่วไหลทันที่อย่างน้อย 50 เมตร(150 ฟุต) ทุกทิศทาง
3.กันบุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องออกห่างจากพื้นที่
4.อยู่เหนือลม
5.ห้ามอยู่ในที่ต่ำ
6. ระบายอากาศพื้นที่อับอากาศก่อนเข้าระงับเหตุ
กั้นแยกพื้นที่รอบทิศทาง 50
กั้นแยกพื้นที่รอบทิศทาง กรณีสารมีสถานะเป็นของเหลว 0
กั้นแยกพื้นที่รอบทิศทาง กรณีสารมีสถานะเป็นของแข็ง 0

ชุดป้องกัน

คำแนะนำ 1.สวมใส่ชุดเครื่องช่วยหายใจส่วนบุคคลแบบมีถังอากาศ
2.สวมชุดป้องกันอันตรายจากสารเคมีตามข้อแนะนำของบริษัทผู้ผลิต ทั้งนี้ชุดป้องกันอันตรายจากสารเคมีไม่สามารถป้องกันอันตรายจากความร้อนสูง
3.ชุดดับเพลิงสามารถป้องกันอันตรายได้อย่างจำกัดเมื่อเกิดกรณีเพลิงไหม้สารแต่อาจไม่สามารถป้องกันอันตรายอย่างมีประสิทธิภาพกรณีที่เกิดเฉพาะการหกรั่วไหล
ข้อควรระวัง
Type

การอพยพ

การรั่วไหลขนาดเล็ก

กั้นเขตอัตรายรอบทิศทาง (เมตร) 0
เขตป้องกันใต้ลม กลางวัน (เมตร) 0
เขตป้องกันใต้ลม กลางคืน (เมตร) 0

การรั่วไหลขนาดใหญ่

กั้นเขตอัตรายรอบทิศทาง (เมตร) 0
เขตป้องกันใต้ลม กลางวัน (เมตร) 0
เขตป้องกันใต้ลม กลางคืน (เมตร) 0

กรณีเกิดการเพลิงไหม้

คำอธิบายการอพยพ ในกรณีที่เกิดการลุกไหม้ 1.หากถังบรรจุขนาดใหญ่ ตู้รถไฟหรือรถบรรทุกสาร เกี่ยวข้องกับเพลิงไหม้ ให้กั้นแยกพื้นที่เกิดเหตุ 800 เมตร ( 1/2 ไมล์) และพิจารณาอพยพประชาชนเบื้องต้น 800 เมตร ( 1/2 ไมล์) ทุกทิศทาง
กั้นเขตอัตรายรอบทิศทาง (เมตร) 800
ระยะอพยพประชาชน ในกรณีที่เกิดเพลิงไหม้ หน่วยเป็นเมตร 800
คำแนะนำ คำเตือน :
1. สารเหล่านี้มีจุดวาบไฟต่ำมาก การดับเพลิงด้วยการฉีดน้ำเป็นฝอยอาจไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ

การดำเนินการเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน

กรณีเกิดการเพลิงไหม้

ข้อควรระวัง หรือคำเตือน เ คำเตือน :
1. สารเหล่านี้มีจุดวาบไฟต่ำมาก การดับเพลิงด้วยการฉีดน้ำเป็นฝอยอาจไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ
เพลิงไฟขนาดเล็ก 1.ผงเคมีแห้ง CO2 น้ำฉีดเป็นฝอย หรือโฟมดับเพลิงชนิดมีขั้ว
เพลิงไฟขนาดใหญ่ 1.ฉีดน้ำเป็นฝอย หมอก หรือโฟมดับเพลิงชนิดมีขั้ว
2. เคลื่อนย้ายภาชนะบรรจุออกจากบริเวณเพลิงไหม้ หากทำได้โดยไม่เสี่ยงอันตราย
3.ห้ามฉีดน้ำเป็นลำตรง
4.ฉีดน้ำเป็นฝอย หมอก
5.สร้างคันกั้นหรือร่องกักน้ำเสียจากการดับเพลิงเพื่อนำไปกำจัดภายหลัง ห้ามทำให้สารกระจาย
เพลิงไหม้ หรือ เกิดอยู่ใกล้ ภาชนะบรรจุหรือรถขนส่ง 1. ฉีดน้ำดับเพลิงจากระยะไกลที่สุด หรือใช้หัวฉีดน้ำชนิดที่ไม่ต้องใช้คนควบคุมรหือใช้แท่นฉิดน้ำแทน
2. ฉีดน้ำปริมาณมากหล่อเย็นภาชนะบรรจุ จนกว่าเพลิงจะสงบ
3. ถอนกำลังเจ้าหน้าที่ทันทีหากอุปกรณ์ระบายความดันนิรภัยของภาชนะบรรจุเกิดเสียงดังหรือภาชนะบรรจุเปลี่ยนสี
4. อยู่ห่างจากภาชนะบรรจุที่ไฟลุกท่วมตลอดเวลา
5. สำหรับเพลิงไหม้รุนแรงและใหญ่มาก ให้ใช้หัวฉีดชนิดที่ไม่ต้องใช้มือจับหรือใช้แท่นฉิดน้ำแทนหากไม่มีให้ถอนกำลังออกจากพื้นที่และปล่อยให้ไฟลุกไหม้จนดับไปเอง
เพลิงไหม้ หรือ เกิดอยู่ใกล้ ตู้สินค้า

กรณีเกิดการหกรั่วไหล

วิธีการเข้าระงับเหตุ 1. สวมชุดป้องกันไอระเหยสารแบบคลุมทั้งตัว หากต้องปฏิบัติหน้าที่ในบริเวณที่มีการรั่วไหล แต่ไม่มีเพลิงไหม้
2. กำจัดแหล่งที่อาจทำให้เกิดการจุดไฟทั้งหมด (ห้ามสูบบุหรี่ จุดพลุ ทำให้เกิดประกายไฟ หรือเปลวไฟบริเวณจุดเกิดเหตุ)
3. อุปกรณ์ที่ใชในการถ่ายเทหรือขนย้ายสารต้องต่อสายดิน
3. ห้ามสัมผัสหรือเดินย่ำผ่านบริเวณที่สาารหกรั่วไหล
4. ระงับการรั่วไหลของสาร หากทำได้โดยไม่เสี่ยงอันตราย
5.อาจใช้โฟมฉีดดักจับเพื่อลดไอระเหยสาร
6. ป้องกันมิให้สารไหลลงน้ำ ท่อระบายน้ำ ชั้นใต้ดิน หรือบริเวณอับอากาศ
คำเตือนสำหรับการเข้าระงับเหตุเมื่อเกิดการหกรั่วไหล
หกรั่วไหลปริมาณเล็กน้อย 1.ดูดซับหรือปิดทับสารด้วยดิน ทรายแห้ง หรือวัสดุอื่นที่ไม่ติดไฟ แล้วเก็บไส่ในภาชนะบรรจุ เพื่อนำไปกำจัดภายหลัง
2.ใช้อุปกรณ์ที่สะอาดและไม่ก่อให้เกิดประกายไฟเก็บรวบรวมสารที่ถูกดูดซับ
หกรั่วไหลปริมาณมาก 1.สร้างคั้นกั้นหรือขุดร่องกักของเหลวที่แพร่กระจายเพื่อส่งกำจัดต่อไป
2.การฉีกน้ำเป็นฝอยอาจลดไอระเหยได้ แต่อาจไม่สามารถป้องกันการจุดติดไฟในที่จำกัดได้

การปฐมพยาบาล

คำแนะนำ 1.นำผู้บาดเจ็บไปยังพื้นที่อากาศบริสุทธิ์
2. โทรแจ้ง 191 หรือหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ฉุกเฉิน 1669
3. ใช้เครื่องช่วยหายใจหากผู้บาดเจ็บหยุดหายใจ
4. ห้ามผายปอดด้วยวิธีการเผ่าปาก หากผู้บาดเจ็บกลือนหรือหายใจรับสารเคมีเข้าสู่ร่างกายให้ใช้เครื่องช่วยหายใจชนิดมีที่ครอบให้อากาศแบบวาล์วทางเดียว หรืออุปกรณ์ช่วยหายใจอื่นที่เหมาะสม
5. ให้ออกซิเจนถ้าผู้บาดเจ็บหายใจลำบาก
6. ถอดและแยกเก็บเสื้อผ้าและรองเท้าที่ปนเปื้อน
7. ถ้าสัมผัสกับสาร ให้ล้างผิวหนังและดวงตาโดยวิธีให้น้ำหลผ่านทันที อย่างน้อย 20 นาที
8.ล้างผิวด้วยสบู่และน้ำ
9. กรณีเกิดแผลไหม้ ทำให้ผิวหนังบริเวณดังกล่าวเย็นทันทีโดยแช่น้ำเย็นนานเท่าที่จะทำได้
10.ห้ามถอดเสื้อผ้าที่แข็งติดกับผิวหนัง
11. รักษาอุณหภูมิร่างกายผู้บาดเจ็บให้อบอุ่นและให้อยู่ในที่สงบ
12. อาการบาดเจ็บจากการสัมผัสกับสาร(หายใจ กิน สัมผัส) อาจเกิดขึ้นช้า (ภายใน 48 ชั่วโมง)
13. ต้องมั่นใจว่าหน่วยแพทย์ทราบชนิดและอันตรายของสารต่าง ๆ รวมทั้งมีการป้องกันตนเองอย่างเหมาะสม

มาตรการกำจัดของเสีย

ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ เก็บรวบรวมของเหลวที่รั่วและหกออกมาใส่ใน ภาชนะที่ปิดสนิทให้มากที่สุดเท่าที่จะทําได้ใช้ทรายหรือ สารดูดซับ เฉื่อย(inert absorbents)ดูดซับของเหลวที่เหลือแล้วนําไปทิ้งในที่ ปลอดภัย ห้ามปล่อยสารนี้เข้าสู่สิ่งแวดล้อม

การทำปฏิกิริยา การระเบิด

สารนี้จะเกิดการรวมตัวเป็นโพลิเมอร์ภายใต้อิทธิพลของกรด และสารออกซิไดซ์ก่อให้เกิดอันตรายจากการติดไฟหรือ การระเบิด

ข้อมูลสารเคมีที่ทําปฏิกิริยากัน

ข้อมูลการเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศน์

สารนี้อาจเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตในน้ํา

มาตรการป้องกัน

อันตรายขึ้นกับความรุนแรงของการได้รับสัมผัสสาร ควรไปรับการตรวจจากแพทย์เป็นระยะอาการปอดบวมน้ํามักจะไม่ปรากฏในทันที จนเวลาผ่านไป 2-3 ชั่วโมงอาการจะรุนแรงขึ้นถ้ามีการออกแรงอย่างหนัก ดังนั้นต้องให้พัก และให้แพทย์ตรวจและสังเกตอาการ

ข้อมูลเพิ่มเติม

Version: 1.0.190 BETA