ช้อมูลทั่วไป

ชื่อภาษาไทย ยูเรเนียมเฮกซาฟลูออไรด์
ชื่อภาษาอังกฤษ Uranium hexafluoride
ชื่อทางการค้า
ประเภทสารเคมี 7. วัสดุกัมมันตรังสี
Cas no. 7783-81-5
UN Number 2977
Formula UF6
จุดเดือด 0 องศาเซลเซียส
จุดหลอมละลาย 0 องศาเซลเซียส
AEGL1 0.25
AEGL2 0.67
AEGL3 2.5
NFPA
0 0 0

ความอันตราย

กลุ่มสารเคมี สารกัมมันตรังสี - กัดกร่อน (ยูเรเนียม เฮกซะฟลูออไรด์/ทำปฏิกิริยากับน้ำ)
Polimerization ไม่เป็น Polimerization
สารเคมีมีอันตรายสูงหากสูดดม (Toxic Inhalation Hazard:TIH) เป็น
ก๊าซพิษเมื่่อสารสัมผัสกับน้ำ
อัคคีภัยหรือการระเบิด 1.สารไม่ติดไฟ
2.สารอาจทำปฏิกิริยารุนแรงกับน้ำมันเชื้อเพลิง
3.ภาชนะบรรจุเป็นแบบ 2 ชั้น มีภาชนะชั้นนอกครอบไว้ (รูปร่างทรงกระบอกแนวนอนมีขาตั้งสั้น ๆ สำหรับการติดตั้ง) ระบด้วยสัญลักษณ์ AF B(U)F หรือ H(U) ในเอกสารกำกับการขนส่งหรือสัญลักษณ์บนภาชนะบรรจุด้านนอก โดยภาชนะบรรจุถูกออกแบบและทดสอบเพื่อให้สามารถทนต่อสภาพไฟลุกที่วมที่อุณหภูมิ 800 C (1475 F) ระยะเวลา 30 นาที
4.ถังบรรจุทรงกระบอกที่ระบุว่าเป็น UN2978 บางครั้งจะมีระบุสัญลักษณ์ H(U) หรือ H(M) ร่วมด้วยอาจฉีกเสียหายเมื่อถูกไฟไหม้ แต่หากถังบรรจุไม่มีสารอยู่ภายใน (ยกเว้นสารตกค้าง) จะไม่ฉีกเสียหายเมื่อถูกไฟไหม้
5.การแผ่รังสีไม่ได้เปลี่ยนแปลงความไวไฟหรือลักษณะสมบัติอื่น ๆ ของสาร
ผลต่อสุขภาพ 1.การแผ่รังสีมีความเสี่ยงอันตรายเล็กน้อยต่อพนังงานรถขนส่ง เจ้าหน้าที่กู้ภัยและประชาชน เมื่อเกิดอุบัติเหตุระหว่างการขนส่ง ความทนทานของภาชนะบรรจุจะเพิ่มขึ้นหากสารกัมมันตรังสีที่บรรจุมีความเสี่ยงอันตรายเพิ่มขึ้น
2.อันตรายทางเคมีของสารสูงกว่าอันตรายจากการปล่อยรังสี
3.สารทำปฏิกิริยากับน้ำและไอน้ำในอากาศเกิดเป็นก๊าซไฮโดรเจฟลูออไรด์ที่เป็นพิษและกัดกร่อนและเกิดสารตกค้างสีขาว ละลายน้ำได้ ที่มีฤทธิ์ระคายเคืองและกัดกร่อนอย่างรุนแรง
4.การสุดดมอาจทำให้เสียชีวิต
5.การสัมผัสสารโดยตรงอาจทำให้เกิดแผลไหม้ผิวหนัง ดวงตา และระบบทางเดินหายใจ
6.สารปล่อยรังสีระดับต่ำ มีอันตรายจากรังสีต่อประชาชนต่ำ
7.น้ำเสียจาการดับเพลิงตู้สินค้าอาจก่อมลพิษระดับต่ำ

การเข้าระงับเหตุเบื้องต้น

คำแนะนำเบื้องต้น 1.โทรแจ้งหมายเลขฉุกเฉินที่ระบุในเอกสารกำกับขนส่ง หากไม่พบเอกสาร ฯ หรือ ไม่มีผู้รับสายให้โทรแจ้งหมายเลขที่เหมาะสมที่ระบุอยู่ด้านหลังในปกหลังคู่มือ
2.การช่วยชีวิต การกู้ชีพ การปฐมพยาบาล การควบคุมเพลิงและความเสี่ยงอันตรายอื่น ๆ มีความจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องทำก่อนการตรวจวัดระดับรังสี
3.แจ้งสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ (ปส.) เบอร์ 025795230-4 ต่อ 552,553,139 (ในเวลาราชกาล) หรือ 025795230-4 ,025620123 (นอกเวลาราชการ) ให้ทราบข้อมูลเหตุการณ์ โดยทั่วไปเจ้าหน้าที่ ปส. มีหน้าที่ตัดสินใจเกี่ยวกับผลกระทบที่ตามมาของเหตุการณ์และการระงับเหตุฉุกเฉิน
4.กั้นแยกพื้นที่ที่สารรั่วไหลทันที่อย่างน้อย 25 เมตร(750 ฟุต) ทุกทิศทาง
5.อยู่เหนือลม
6.กันบุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องออกห่างจากพื้นที่
7.คัดแยกบุคคลที่ไม่บาดเจ็บหรืออุปกรณ์ที่สงสัยว่าปนเปื้อนรังสี : ชะลอการขจัดการปนเปื้อนและการทำความสะอาดพื้นที่จนกว่าจะได้รับคำแนะนำจากหน้าหน้าที่ของ ปส.
กั้นแยกพื้นที่รอบทิศทาง 25
กั้นแยกพื้นที่รอบทิศทาง กรณีสารมีสถานะเป็นของเหลว 0
กั้นแยกพื้นที่รอบทิศทาง กรณีสารมีสถานะเป็นของแข็ง 0

ชุดป้องกัน

คำแนะนำ 1.สวมใส่ชุดเครื่องช่วยหายใจส่วนบุคคลแบบมีถังอากาศ
2.สวมชุดป้องกันอันตรายจากสารเคมีตามข้อแนะนำของบริษัทผู้ผลิต ทั้งนี้ชุดป้องกันอันตรายจากสารเคมีไม่สามารถป้องกันอันตรายจากความร้อนสูง
3.ชุดดับเพลิงสามารถป้องกันอันตรายได้อย่างจำกัดเมื่อเกิดกรณีเพลิงไหม้สารแต่อาจไม่สามารถป้องกันอันตรายอย่างมีประสิทธิภาพกรณีที่เกิดเฉพาะการหกรั่วไหล หากมีโอกาสที่จะสัมผัสสารโดยตรง
ข้อควรระวัง
Type

การอพยพ

การรั่วไหลขนาดเล็ก

กั้นเขตอัตรายรอบทิศทาง (เมตร) 0
เขตป้องกันใต้ลม กลางวัน (เมตร) 0
เขตป้องกันใต้ลม กลางคืน (เมตร) 0

การรั่วไหลขนาดใหญ่

กั้นเขตอัตรายรอบทิศทาง (เมตร) 0
เขตป้องกันใต้ลม กลางวัน (เมตร) 0
เขตป้องกันใต้ลม กลางคืน (เมตร) 0

กรณีเกิดการเพลิงไหม้

คำอธิบายการอพยพ ในกรณีที่เกิดการลุกไหม้ 1.หากสารปริมาณมากเกี่ยวข้องกับเพลิงไหม้ พิจารณาอพยพประชาชนเบื้องต้น อย่างน้อย 300 เมตร ( 1000 ฟุต) ทุกทิศทาง
กั้นเขตอัตรายรอบทิศทาง (เมตร) 300
ระยะอพยพประชาชน ในกรณีที่เกิดเพลิงไหม้ หน่วยเป็นเมตร 0
คำแนะนำ 1.ห้ามฉีดน้ำหรือโฟมดับเพิลงลงบนเนื้อสาร
2.เคลื่อนย้ายภาชนะบรรจุออกจากบริเวณเพลิงไหม้ หากทำได้โดยไม่เสี่ยงอันตราย

การดำเนินการเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน

กรณีเกิดการเพลิงไหม้

ข้อควรระวัง หรือคำเตือน เ 1.ห้ามฉีดน้ำหรือโฟมดับเพิลงลงบนเนื้อสาร
2.เคลื่อนย้ายภาชนะบรรจุออกจากบริเวณเพลิงไหม้ หากทำได้โดยไม่เสี่ยงอันตราย
เพลิงไฟขนาดเล็ก 1.ผงเคมีแห้ง หรือ CO2
เพลิงไฟขนาดใหญ่ 1.ฉีดน้ำเป็นฝอย หมอก หรือโฟมดับเพลิง
2.ฉีดน้ำปริมาณมากหล่อเย็นภาชนะบรรจุ จนกว่าเพลิงจะสงบ
3.หากไม่สามารถทำได้ให้ถอนกำลังออกจากพื้นที่และปล่อยให้ไฟลุกไหม้จนดับไปเอง
4.อยู่ห่างจากภาชนะบรรจุที่ไฟลุกท่วมตลอดเวลา
เพลิงไหม้ หรือ เกิดอยู่ใกล้ ภาชนะบรรจุหรือรถขนส่ง
เพลิงไหม้ หรือ เกิดอยู่ใกล้ ตู้สินค้า

กรณีเกิดการหกรั่วไหล

วิธีการเข้าระงับเหตุ 1.ห้ามสัมผัสภาชนะบรรจุที่เสียหายหรือสารที่หกรั่วไหล
2.หากไม่มีเพลิงไหม้หรือควันไฟ การรั่วไหลของสารสังเกตได้จากการมองด้วยตาไอระเหยที่มีฤทธิ์ระคายเคืองหรือสารตกค้างที่อาจเกิดขึ้นในที่เกิดเหตุ
3.ฉีดพ่นน้ำเป็นฝอยละเอียดดักจับเพื่อลดไอระเหยสาร ห้ามฉีดน้ำใส่จุดที่สารรั่วไหลจากถังบรรจุโดยตรง
4.สารตรกค้างอาจจับกันเป็นก้อน ปิดรอยรั่วขนาดเล็กได้เอง
5.สร้างคั้นกั้นหรือร่องกักน้ำเสียที่เกิดขึ้นจากการระงับเหตุ
คำเตือนสำหรับการเข้าระงับเหตุเมื่อเกิดการหกรั่วไหล
หกรั่วไหลปริมาณเล็กน้อย
หกรั่วไหลปริมาณมาก

การปฐมพยาบาล

คำแนะนำ 1. โทรแจ้ง 191 หรือหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ฉุกเฉิน 1669
2.พิจารณาแก้ไขปัญหาด้านการรักษาพยาบาลอย่างเร่งด่วนก่อนการจัดการวัตถุกัมมันตรังสี
3.ปฐมพยาบาลเบื้องต้นตามอาการบาดเจ็บที่เกิดขึ้น
4.ต้องรักษาผู้บาดเจ็บทันทีและรีบนำส่งผู้ที่มีอาการรุนแรงส่งโรงพยาบาล
5. ใช้เครื่องช่วยหายใจหากผู้บาดเจ็บหยุดหายใจ
6. ให้ออกซิเจนถ้าผู้บาดเจ็บหายใจลำบาก
7. ถ้าสัมผัสกับสาร ให้ล้างผิวหนังและดวงตาโดยวิธีให้น้ำหลผ่านทันที อย่างน้อย 20 นาที
8.การปนเปื้อนสารที่รั่วไหลของผู้บาดเจ็บจะไม่ส่งผลต่อเจ้าหน้าที่ดูแลด้านการรักษาพยาบาลหรืออุปกรณ์ต่าง ๆ
9. ต้องมั่นใจว่าหน่วยแพทย์ทราบชนิดและอันตรายของสารต่าง ๆ รวมทั้งมีการป้องกันตนเองอย่างเหมาะสม

มาตรการกำจัดของเสีย

กวาดอย่างระมัดระวังลงในภาชนะที่แห้งหรือปิดผนึกได้

การทำปฏิกิริยา การระเบิด

ข้อมูลสารเคมีที่ทําปฏิกิริยากัน

ทำปฏิกิริยาอย่างรุนแรงกับน้ำ กรดแก่ และสารประกอบอินทรีย์

ข้อมูลการเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศน์

มาตรการป้องกัน

ข้อมูลเพิ่มเติม

Version: 1.0.190 BETA