ช้อมูลทั่วไป
ชื่อภาษาไทย | ซิงค์ ฟอสเฟต(ยาเบื่อหนู) |
ชื่อภาษาอังกฤษ | Zinc phosphide |
ชื่อทางการค้า | |
ประเภทสารเคมี | 4.3 สารที่สัมผัสกับน้ำแล้วทำให้เกิดก๊าซไวไฟ |
Cas no. | 1314-84-7 |
UN Number | 1714 |
Formula | |
จุดเดือด | 1100 ํC องศาเซลเซียส |
จุดหลอมละลาย | 420 ํC องศาเซลเซียส |
AEGL1 | 0.091 |
AEGL2 | 1 |
AEGL3 | 1.8 |
NFPA |
3
3
1
|
ความอันตราย
กลุ่มสารเคมี | สารทำปฏิกิริยากับน้ำ - เกิดก๊าซไวไฟและเป็นพิษ |
Polimerization | ไม่เป็น Polimerization |
สารเคมีมีอันตรายสูงหากสูดดม (Toxic Inhalation Hazard:TIH) | ไม่เป็น |
ก๊าซพิษเมื่่อสารสัมผัสกับน้ำ | |
อัคคีภัยหรือการระเบิด | 1.เกิดก๊าซไวไฟและเป็นพิษเมื่อสัมผัสกับน้ำ
2.อาจลุกติดไฟเมื่อสัมผัสกับน้ำหรืออากาศที่มีความชื้นสูง 3.สารบางชนิดอาจทำปฏิกิริยารุนแรงหรือระเบิดได้ หากสัมผัสน้ำ 4.อาจจุดติดไฟด้วยความร้อน ประกายไฟ หรือเปลวไฟ 5.อาจลุกติดไฟซ้ำอีก หลังจากดับไฟได้แล้ว 6.สารบางชนิดถูกขนส่งในสภาวะของเหลวไวไฟสูง 7.น้ำเสียจากจุดเกิดเหตุอาจเกิดเพลิงไหม้หรือระเบิด 8.ภาชนะบรรจุอาจระเบิดเมื่อได้รับความร้อน |
ผลต่อสุขภาพ | 1.เป็นพิษ : เมื่อสารสัมผัสกับน้ำจะเกิดก๊าซ อาจเสียชีวิตหากสูดดม
2.การสูดดมหรือสัมผัสกับไอระเหย ตัวสาร หรือก๊าซที่เกิดจากการสลายตัวของสารอาจเกิดอาการบาดเจ็บรุนแรงหรือเสียชีวิต 3.หากสารเกิดลุกไหม้ อาจเกิดก๊าซที่มีฤทธิ์ระคายเคือง กัดกร่อน และ/หรือเป็นพิษ 4.หากสารสัมผัสกับน้ำ อาจเกิดเป็นสารละบายที่มีฤทธิ์กัดกร่อน 5.น้ำเสียจากการดับเพลิงอาจก่อมลพิษ |
การเข้าระงับเหตุเบื้องต้น
คำแนะนำเบื้องต้น | 1.โทรแจ้งหมายเลขฉุกเฉินที่ระบุในเอกสารกำกับขนส่ง หากไม่พบเอกสาร ฯ หรือ ไม่มีผู้รับสายให้โทรแจ้งหมายเลขที่เหมาะสมที่ระบุอยู่ด้านในปกหลังคู่มือ
2.เพื่อเป็นมาตรการป้องกันเหตุฉุกเฉินเบื้องต้น กั้นแยกพื้นที่ที่สารรั่วไหลทันทีทุกทิศทางอย่างน้อย 50 เมตร (150 ฟุต) ถ้าเป็นของเหลว และอย่างน้อย 25 เมตร (75 ฟุต) ถ้าเป็นของแข็ง 3.กันบุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องออกห่างจากพื้นที่ 4.อยู่เหนือลม 5.ห้ามอยู่ในที่ต่ำ 6. ระบายอากาศพื้นที่อับอากาศก่อนเข้าระงับเหตุ |
กั้นแยกพื้นที่รอบทิศทาง | 50 |
กั้นแยกพื้นที่รอบทิศทาง กรณีสารมีสถานะเป็นของเหลว | 50 |
กั้นแยกพื้นที่รอบทิศทาง กรณีสารมีสถานะเป็นของแข็ง | 25 |
ชุดป้องกัน
คำแนะนำ | 1.สวมใส่ชุดเครื่องช่วยหายใจส่วนบุคคลแบบมีถังอากาศ
2.สวมชุดป้องกันอันตรายจากสารเคมีตามข้อแนะนำของบริษัทผู้ผลิต ทั้งนี้ชุดป้องกันอันตรายจากสารเคมีไม่สามารถป้องกันอันตรายจากความร้อนสูง 3.ชุดดับเพลิงสามารถป้องกันอันตรายได้อย่างจำกัดเมื่อเกิดกรณีเพลิงไหม้สารแต่อาจไม่สามารถป้องกันอันตรายอย่างมีประสิทธิภาพกรณีที่เกิดเฉพาะการหกรั่วไหล |
ข้อควรระวัง | |
Type |
การอพยพ
การรั่วไหลขนาดเล็ก
กั้นเขตอัตรายรอบทิศทาง (เมตร) | 0 |
เขตป้องกันใต้ลม กลางวัน (เมตร) | 0 |
เขตป้องกันใต้ลม กลางคืน (เมตร) | 0 |
การรั่วไหลขนาดใหญ่
กั้นเขตอัตรายรอบทิศทาง (เมตร) | 0 |
เขตป้องกันใต้ลม กลางวัน (เมตร) | 0 |
เขตป้องกันใต้ลม กลางคืน (เมตร) | 0 |
กรณีเกิดการเพลิงไหม้
คำอธิบายการอพยพ ในกรณีที่เกิดการลุกไหม้ | 1.หากถังบรรจุขนาดใหญ่ ตู้รถไฟหรือรถบรรทุกสาร เกี่ยวข้องกับเพลิงไหม้ ให้กั้นแยกพื้นที่เกิดเหตุ 800 เมตร ( 1/2 ไมล์) และพิจารณาอพยพประชาชนเบื้องต้น 800 เมตร ( 1/2 ไมล์) ทุกทิศทาง |
กั้นเขตอัตรายรอบทิศทาง (เมตร) | 800 |
ระยะอพยพประชาชน ในกรณีที่เกิดเพลิงไหม้ หน่วยเป็นเมตร | 800 |
คำแนะนำ | 1.ห้ามใช้น้ำหรือโฟมดับเพลิง (อาจใช้โฟมดับเพลิงสำหรับสาร Chlorosilanes) 2.สำหรับสารคลอโรซิเลน (Chlorosilanes) ห้ามใช้น้ำ แต่ให้ใช้โฟมดับเพลิงชนิดมีขั้วแบบขยายตัวปาน (AFF-AR medium expansion foarm) ห้ามใช้ผงเคมีแห้ง โซดาแอซหรือปูนขาวดับเพลิงทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ เพราะอาจเกิดก๊าซไฮโดรเจนปริมาณมากจนระเบิดได้ |
การดำเนินการเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน
กรณีเกิดการเพลิงไหม้
ข้อควรระวัง หรือคำเตือน เ | 1.ห้ามใช้น้ำหรือโฟมดับเพลิง (อาจใช้โฟมดับเพลิงสำหรับสาร Chlorosilanes) 2.สำหรับสารคลอโรซิเลน (Chlorosilanes) ห้ามใช้น้ำ แต่ให้ใช้โฟมดับเพลิงชนิดมีขั้วแบบขยายตัวปาน (AFF-AR medium expansion foarm) ห้ามใช้ผงเคมีแห้ง โซดาแอซหรือปูนขาวดับเพลิงทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ เพราะอาจเกิดก๊าซไฮโดรเจนปริมาณมากจนระเบิดได้ |
เพลิงไฟขนาดเล็ก | 1.ผงเคมีแห้ง โซดาแอซ ปูนขาว หรือทราย |
เพลิงไฟขนาดใหญ่ | 1.ทรายแห้ง ผงเคมีแห้ง โซดาแอช หรือปูนขาว หรือถอนกำลังออกจากพื้นที่แล้วปล่อยให้สารลุกไหม้จนหมด
2.สำหรับสารคลอโรซิเลน (Chlorosilanes) ห้ามใช้น้ำ แต่ให้ใช้โฟมดับเพลิงชนิดมีขั้วแบบขยายตัวปาน (AFF-AR medium expansion foarm) ห้ามใช้ผงเคมีแห้ง โซดาแอซหรือปูนขาวดับเพลิงทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ เพราะอาจเกิดก๊าซไฮโดรเจนปริมาณมากจนระเบิดได้ 3.เคลื่อนย้ายภาชนะบรรรจุออกจากบริเวณเพลิงไหม้ หากทำได้โดยไม่เสี่ยงอันตราย |
เพลิงไหม้ หรือ เกิดอยู่ใกล้ ภาชนะบรรจุหรือรถขนส่ง | 1. ฉีดน้ำปริมาณมากหล่อเย็นภาชนะบรรจุ จนกว่าเพลิงจะสงบ
2.ห้ามฉีดน้ำเข้าไปในภาชนะบรรจุ 3. สำหรับเพลิงไหม้รุนแรงและใหญ่มาก ให้ใช้หัวฉีดชนิดที่ไม่ต้องใช้มือจับหรือใช้แท่นฉิดน้ำแทนหากไม่มีให้ถอนกำลังออกจากพื้นที่และปล่อยให้ไฟลุกไหม้จนดับไปเอง 4. ถอนกำลังเจ้าหน้าที่ทันทีหากอุปกรณ์ระบายความดันนิรภัยของภาชนะบรรจุเกิดเสียงดังหรือภาชนะบรรจุเปลี่ยนสี 5. อยู่ห่างจากภาชนะบรรจุที่ไฟลุกท่วมตลอดเวลา |
เพลิงไหม้ หรือ เกิดอยู่ใกล้ ตู้สินค้า |
กรณีเกิดการหกรั่วไหล
วิธีการเข้าระงับเหตุ | 1.สวมชุดป้องกันไอระเหยสารแบบคลุมทั้งตัว หากต้องปฏิบัติหน้าที่ในบริเวณที่มีการรั่วไหล แต่ไม่มีเพลิงไหม้
2..กำจัดแหล่งที่อาจทำให้เกิดการจุดไฟทั้งหมด (ห้ามสูบบุหรี่ จุดพลุ ทำให้เกิดประกายไฟหรือเปลวไฟบริเวณจุดเกิดเหตุ) 3. ห้ามสัมผัสหรือเดินย่ำผ่านบริเวณที่สาารหกรั่วไหล 3 ระงับการรั่วไหลของสาร หากทำได้โดยไม่เสี่ยงอันตราย 4.ฉีดน้ำเป็นฝอยดักจับไอระเหยสาร แต่ห้ามฉีดน้ำใส่จุดที่รั่ว บริเวณที่สารแพร่กระจาย หรือภายในภาชนะบรรจุ 5.ห้ามฉีดน้ำลงบนสารที่รั่วไหล หรือ ฉีดน้ำเข้าไปในภาชนะบรรจุ 6.สำหรับสาร Chlorosilanes ให้ฉีดโฟมดับเพลิงชนิดมีขั้วแบบอัตราขยายตัวปานกลางเพื่อลดไอระเหยสาร สารที่เป็นผงหกรั่วไหล 1.ปิดทับผงที่หกรั่วไหลด้วยแผน่พลาสติกหรือผ้าใช้เพื่อลดการแพร่กระจาย และรัษาสภาพสารให้แห้ง 2.ห้ามทำความสะอาดพื้นที่เกิดเหตุหรือกำจัดสาร เว้นแต่ดำเนินการภายใต้คำแนะนำของผู้เชี่ยวขาญ |
คำเตือนสำหรับการเข้าระงับเหตุเมื่อเกิดการหกรั่วไหล | |
หกรั่วไหลปริมาณเล็กน้อย | 1.ปิดทับด้วยดินแห้ง ทรายแห้ง หรือวัสดุอื่นที่ไม่ติดไฟ แล้วปิดคลุมด้วยแผ่นพลาสติกอีกชั้นหนึ่ง เพื่อลดการแพร่กระจายหรือการสัมผัสกับน้ำฝน
2.สร้างคั้นกั้นหรือขุดร่องกักของเหลวที่แพร่กระจายเพื่อส่งกำจัดต่อไป ห้ามใช้น้ำยกเว้นมีคำสั่งให้ดำเนินการ |
หกรั่วไหลปริมาณมาก |
การปฐมพยาบาล
คำแนะนำ | 1.นำผู้บาดเจ็บไปยังพื้นที่อากาศบริสุทธิ์
2. โทรแจ้ง 191 หรือหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ฉุกเฉิน 1669 3. ห้ามผายปอดด้วยวิธีการเผ่าปาก หากผู้บาดเจ็บกลืนหรือหายใจรับสารเคมีเข้าสู่ร่างกาย ให้ใช้เครื่องช่วยหายใจชนิดมีที่ครอบให้อากาศแบบวาล์วทางเดียว หรืออุปกรณ์ช่วยหายใจอื่นที่เหมาะสม 4. ใช้เครื่องช่วยหายใจหากผู้บาดเจ็บหยุดหายใจ 5. ให้ออกซิเจนถ้าผู้บาดเจ็บหายใจลำบาก 6. ถอดและแยกเก็บเสื้อผ้าและรองเท้าที่ปนเปื้อน 7 ถ้าสัมผัสกับสาร ให้ล้างผิวหนังและดวงตาโดยวิธีให้น้ำหลผ่านทันที อย่างน้อย 20 นาที 8. รักษาอุณหภูมิร่างกายผู้บาดเจ็บให้อบอุ่นและให้อยู่ในที่สงบ 9. ต้องมั่นใจว่าหน่วยแพทย์ทราบชนิดและอันตรายของสารต่าง ๆ รวมทั้งมีการป้องกันตนเองอย่างเหมาะสม |
มาตรการกำจัดของเสีย
เก็บกวาดสารที่หกออกมาใส่ภาชนะพลาสติก |
การทำปฏิกิริยา การระเบิด
ข้อมูลสารเคมีที่ทําปฏิกิริยากัน
ข้อมูลการเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศน์
สารนี้เป็นพิษต่อสิ่งมีชีวิตในน้ำ สารนี้อาจเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม ควรให้ความใส่ใจต่อนกเป็นพิเศษ |
มาตรการป้องกัน
เก็บแยกจากสารออกซิไดซ์อย่างแรง กรด น้ำ เก็บในที่แห้ง เก็บในห้องที่มีการระบายอากาศที่ดี เก็บในพื้นที่ที่ไม่มีทางเข้าของท่อระบายน้ำเข้าถึง |