ช้อมูลทั่วไป

ชื่อภาษาไทย ไนตรัส ออกไซด์
ชื่อภาษาอังกฤษ Nitrous oxide
ชื่อทางการค้า
ประเภทสารเคมี 2.2 ก๊าซไม่ไวไฟและไม่เป็นพิษ
Cas no. 10024-97-2
UN Number 1070
Formula N2O
จุดเดือด -88.5 ํC องศาเซลเซียส
จุดหลอมละลาย -90.8 ํC องศาเซลเซียส
AEGL1 -
AEGL2 -
AEGL3 -
NFPA
0 0 0

ความอันตราย

กลุ่มสารเคมี ก๊าซ - ออกซิไดซ์ (รวมทั้งก๊าซเหลวเย็นจัด)
Polimerization ไม่เป็น Polimerization
สารเคมีมีอันตรายสูงหากสูดดม (Toxic Inhalation Hazard:TIH) ไม่เป็น
ก๊าซพิษเมื่่อสารสัมผัสกับน้ำ
อัคคีภัยหรือการระเบิด 1.สารไม่ลุกติดไฟ แต่ช่วยสนับสนุนการเกิดเพลิงไหม้
2.สารบางชนิดทำปฏิกิริยากับน้ำมันเชื้อเพลิงแล้วทำให้เกิดการระเบิดได้
3.อาจทำให้สารที่ลุกติดไฟ เช่น ไม้ กระดาษ น้ำมัน ผ้า ลุกติดไฟ
4.ไอระเหยจากก๊าซเหลว ในขั้นต้นจะหนักกว่าอากาศ และแพร่กระจายไปตามพื้น
5.น้ำเสียจาการดับเพลิงอาจก่อมลพิษ
6.ภาชนะบรรจุอาจระเบิดเมื่อได้รับความร้อน
7.ถังบรรจุก๊าซทรงกระบอกที่ฉีกขาดอาจพุ่งไปในทิศทางต่าง ๆ
ผลต่อสุขภาพ 1.ไอสารอาจทำให้เกิดอาการมึนศีรษะหรือหายใจไม่ออกโดยไม่รู้ตัว
2.การสัมผัสก๊าซหรือก๊าซเหลวอาจเกิดแผลไหม้ บาดเจ็บหาหัส และ/หรือแผลจากความเย็นจัด
3.หากสารเกิดลุกไหม้ อาจเกิดก๊าซที่มีฤทธิ์ระคายเคือง กัดกร่อน และ/หรือเป็นพิษ

การเข้าระงับเหตุเบื้องต้น

คำแนะนำเบื้องต้น 1.โทรแจ้งหมายเลขฉุกเฉินที่ระบุในเอกสารกำกับขนส่ง หากไม่พบเอกสาร ฯ หรือ ไม่มีผู้รับสายให้โทรแจ้งหมายเลขที่เหมาะสมที่ระบุอยู่ด้านในปกหลังคู่มือ
2.กั้นแยกพื้นที่ที่สารรั่วไหลทันที่อย่างน้อย 100 เมตร(330 ฟุต) ทุกทิศทาง
3.กันบุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องออกห่างจากพื้นที่
4.อยู่เหนือลม
5.ห้ามอยู่ในที่ต่ำ
6. ก๊าซหลายชนิดจะหนักกว่าอากาศและจะแพร่กระจายไปตามพื้น สะสมตัวในที่ต่ำหรือที่อับอากาศ (ท่อระบายน้ำ ห้องใต้ดิน ถึงเก็บ)
7. ระบายอากาศพื้นที่อับอากาศก่อนเข้าระงับเหตุ
กั้นแยกพื้นที่รอบทิศทาง 100
กั้นแยกพื้นที่รอบทิศทาง กรณีสารมีสถานะเป็นของเหลว 0
กั้นแยกพื้นที่รอบทิศทาง กรณีสารมีสถานะเป็นของแข็ง 0

ชุดป้องกัน

คำแนะนำ 1.สวมใส่ชุดเครื่องช่วยหายใจส่วนบุคคลแบบมีถังอากาศ
2.สวมชุดป้องกันอันตรายจากสารเคมีตามข้อแนะนำของบริษัทผู้ผลิต ทั้งนี้ชุดป้องกันอันตรายจากสารเคมีไม่สามารถป้องกันอันตรายจากความร้อนสูง
3.ชุดดับเพลิงสามารถป้องกันอันตรายได้อย่างจำกัดเมื่อเกิดกรณีเพลิงไหม้สารแต่อาจไม่สามารถป้องกันอันตรายอย่างมีประสิทธิภาพกรณีที่เกิดเฉพาะการหกรั่วไหล
4.สวมชุดป้องกันอันตรายจากอุณหภูมิเมื่อมีการถ่ายเทหรือจัดการก๊าซเหลวเย็นจัด
ข้อควรระวัง
Type

การอพยพ

การรั่วไหลขนาดเล็ก

กั้นเขตอัตรายรอบทิศทาง (เมตร)
เขตป้องกันใต้ลม กลางวัน (เมตร)
เขตป้องกันใต้ลม กลางคืน (เมตร)

การรั่วไหลขนาดใหญ่

กั้นเขตอัตรายรอบทิศทาง (เมตร)
เขตป้องกันใต้ลม กลางวัน (เมตร)
เขตป้องกันใต้ลม กลางคืน (เมตร)

กรณีเกิดการเพลิงไหม้

คำอธิบายการอพยพ ในกรณีที่เกิดการลุกไหม้ 1.หากถังบรรจุขนาดใหญ่ ตู้รถไฟหรือรถบรรทุกสาร เกี่ยวข้องกับเพลิงไหม้ ให้กั้นแยกพื้นที่เกิดเหตุ 800 เมตร ( 1/2 ไมล์) และพิจารณาอพยพประชาชนเบื้องต้น 800 เมตร ( 1/2 ไมล์) ทุกทิศทาง
กั้นเขตอัตรายรอบทิศทาง (เมตร) 800
ระยะอพยพประชาชน ในกรณีที่เกิดเพลิงไหม้ หน่วยเป็นเมตร 800
คำแนะนำ 1.ใช้สารดับเพลิงที่เหมาะสมกับชนิดของเพลิงไหม้โดยรอบ

การดำเนินการเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน

กรณีเกิดการเพลิงไหม้

ข้อควรระวัง หรือคำเตือน เ 1.ใช้สารดับเพลิงที่เหมาะสมกับชนิดของเพลิงไหม้โดยรอบ
เพลิงไฟขนาดเล็ก 1.ผงเคมีแห้งและ CO2
เพลิงไฟขนาดใหญ่ 1.ฉีดน้ำเป็นฝอย หมอก หรือโฟมดับเพลิง
2. เคลื่อนย้ายภาชนะบรรจุออกจากบริเวณเพลิงไหม้ หากทำได้โดยไม่เสี่ยงอันตราย
3. ท่อบรรจุก๊าซทรงกระบอกที่ชำรุดต้องได้รับการจัดการโดยผู้เชี่ยวชาญเฉพาะ
เพลิงไหม้ หรือ เกิดอยู่ใกล้ ภาชนะบรรจุหรือรถขนส่ง 1. ฉีดน้ำดับเพลิงจากระยะไกลที่สุด หรือใช้หัวฉีดน้ำชนิดที่ไม่ต้องใช้คนควบคุมรหือใช้แท่นฉิดน้ำแทน
2. ฉีดน้ำปริมาณมากหล่อเย็นภาชนะบรรจุ จนกว่าเพลิงจะสงบ
3. ห้ามฉีดน้ำไปยังรอยรั่วหรืออุปกรณ์ระบายความดันโดยตรง อาจมีน้ำแข็งเกาะบริเวณดังกล่าว
3. ถอนกำลังเจ้าหน้าที่ทันทีหากอุปกรณ์ระบายความดันนิรภัยของภาชนะบรรจุเกิดเสียงดังหรือภาชนะบรรจุเปลี่ยนสี
4. อยู่ห่างจากภาชนะบรรจุที่ไฟลุกท่วมตลอดเวลา
5. สำหรับเพลิงไหม้รุนแรงและใหญ่มาก ให้ใช้หัวฉีดชนิดที่ไม่ต้องใช้มือจับหรือใช้แท่นฉิดน้ำแทนหากไม่มีให้ถอนกำลังออกจากพื้นที่และปล่อยให้ไฟลุกไหม้จนดับไปเอง
เพลิงไหม้ หรือ เกิดอยู่ใกล้ ตู้สินค้า

กรณีเกิดการหกรั่วไหล

วิธีการเข้าระงับเหตุ 1.แยกวัสดุ/สารที่ลุกติดไฟได้ (ไม้ กระดาษ น้ำมัน ฯ) ออกจากบริเวณที่มีการรั่วไหล
2. ห้ามสัมผัสหรือเดินย่ำผ่านบริเวณที่สาารหกรั่วไหล
3.ปล่อยให้สารระเหยจนหมด
4. ระงับการรัวไหล ทำได้โดยไม่เสี่ยงอันตราย
5.ระบายอากาศบริเวณที่เกิดเหตุ
6. ฉีดน้ำเป็นฝอยดักจับกลุ่มไอระเหยสารเพื่อลดความเข้มข้นหรือเปลี่ยนทิศทางไอระเหย แต่พยายามอย่าให้น้ำที่ฉีดไหลไปสัมผัสกับตัวสารที่หกรั่วไหลโดยตรง
7. ห้ามฉีดน้ำใส่สารที่นองพื้นที่หรือจุดรั่วไหลโดยตรง
8. หากเป็นไปได้ให้หมุนภาชนะบรรจุจนอยู่ในต่ำแหน่งที่จะมีก๊าซรั่วออกมาเท่านั้น แทนที่จะเป็นของเหลว
9. ป้องกันมิให้สารไหลลงน้ำ ท่อระบายน้ำ ชั้นใต้ดิน หรือบริเวณอับอากาศ
10.คำเตือน วัสดุหลายชนิดเมื่อสัมผัสกับก๊าซเหลวเย็นจัดจะเปราะและแตกหักได้โดยไม่รู้ล่วงหน้า
คำเตือนสำหรับการเข้าระงับเหตุเมื่อเกิดการหกรั่วไหล
หกรั่วไหลปริมาณเล็กน้อย
หกรั่วไหลปริมาณมาก 1.พิจารณาอพยพประชาชนที่อาศัยอยู่ใต้ลมเบื้องต้นอย่างน้อย 500 เมตร (1/3 ไมล์)

การปฐมพยาบาล

คำแนะนำ 1.นำผู้บาดเจ็บไปยังพื้นที่อากาศบริสุทธิ์
2. โทรแจ้ง 191 หรือหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ฉุกเฉิน 1669
3. ใช้เครื่องช่วยหายใจหากผู้บาดเจ็บหยุดหายใจ
4. ให้ออกซิเจนถ้าผู้บาดเจ็บหายใจลำบาก
5. ถอดและแยกเก็บเสื้อผ้าและรองเท้าที่ปนเปื้อน
6.เสื้อผ้าที่เข็งติดผิวหนังต้องทำให้คลาดตัวก่อนถอด
7. รักษาอุณหภูมิร่างกายผู้บาดเจ็บให้อบอุ่นและให้อยู่ในที่สงบ
8. ต้องมั่นใจว่าหน่วยแพทย์ทราบชนิดและอันตรายของสารต่าง ๆ รวมทั้งมีการป้องกันตนเองอย่างเหมาะสม

มาตรการกำจัดของเสีย

ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ ทําการดูดระบายอากาศ ถ้าเป็นของเหลวห้ามดูดซับด้วยขี้เลื่อยหรือสารดูดซับอื่นที่ติดไฟได้ห้ามฉีดน้ําไปบนของเหลวโดยตรง

การทำปฏิกิริยา การระเบิด

ทำปฎิกิริยารุนแรงกับซัลฟูรัสแอนไฮไดร์ด อะมอร์ฟัส โบรอน ฟอสฟีน อีเธอร์ อลูมิเนียม ไฮดราซีน เฟนิล-ลิเทียม และทังสเตนคาร์ไบด์ สารนี้เป็นก๊าซที่เป็นสารออกซิไดซ์อย่างแรงที่อุณหภูมิเกิน 300 ํC และสามารถทําให้เกิดส่วนผสมที่ระเบิดได้เมื่อรวมกับแอมโมเนีย คาร์บอนมอนอกไซด์ ไฮโดรเจนซัลไฟด์ น้ํามัน ไขและเชื้อเพลิง

ข้อมูลสารเคมีที่ทําปฏิกิริยากัน

ข้อมูลการเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศน์

มาตรการป้องกัน

ถ้าอยู่ในอาคารให้เก็บแยกไว้ในที่ป้องกันไฟได้ เก็บแยกจากสารที่เข้ากันไม่ได้

ข้อมูลเพิ่มเติม

Version: 1.0.190 BETA